บทความ: สะท้อนประสบการณ์การฝึกงาน (Internship Reflection)
โดย นายกรวีร์ ทองอินที
แนะนำตัวสวัสดีครับ ผมชื่อต้องนะครับ ชื่อจริง นายกรวีร์ ทองอินที เป็นนิสิตชั้นปีที่ 3 คณะรัฐศาสตร์ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครับ ซึ่งในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้เป็นนักศึกษาฝึกงานในทีมติดตามและประเมินผลโครงการ (DMEL) ที่มูลนิธิรักษ์ไทยครับ หลายคนอาจจะสงสัยว่าผมเรียนเกี่ยวกับการเมืองหรือการต่างประเทศ ทำไมถึงมาฝึกงานที่รักษ์ไทย ซึ่งเหตุผลก็คือ ที่คณะ ฯ ผมได้เรียนรู้ว่า มีหลายองค์กรที่ส่งผลต่อการเมืองระหว่างประเทศได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นองค์กรของรัฐบาลก็ได้ ผมเลยคิดว่าก่อนที่ผมจะไปฝึกงานที่หน่วยงานของรัฐที่ตรงสายอย่างกระทรวงการต่างประเทศในปีหน้า ผมควรมาศึกษาบทบาทขององค์การภาคประชาสังคมว่าจะมีบทบาทยังไงในเรื่องระหว่างประเทศครับ และอยากมาฝึกการทำงานที่ได้ใช้ภาษาอังกฤษด้วยครับเพราะหัวหน้าทีม (คุณ Alistair) เป็นคนต่างชาติ
|
การทำงานกับทีม DMEL
เมื่อเข้ามาฝึกงานวันแรกคุณ Alistair ก็ได้บอกหน้าที่และงานที่เราต้องทำทั้งหมดตลอดระยะเวลาสองเดือนของการฝึกงานครับ ซึ่งงานที่ด่วนที่สุดคือการแปลเอกสารคำอธิบายการใช้แบบสอบถาม (Guidance) ของการประเมิน PIIRS การพัฒนาแบบฟอร์มขอความยินยอม (Consent Form) และการทำวิดิโอลงในเว็บไซต์ PLP ที่เป็นงานใหญ่ของทีมเราในช่วงนั้น ซึ่งเป็นอะไรที่ท้าทายมากเพราะมีคำศัพท์และชื่อเรียกที่เฉพาะ และจำเป็นต้องแปลให้เข้าใจง่ายและเหมาะกับบริบทขององค์กรด้วย
ต้องบอกตามตรงครับว่า เรื่อง “การติดตามและประเมินผล” เป็นสิ่งที่ผมไม่เคยทำมาก่อนและไม่เคยมีความสนใจในเรื่องเหล่านี้เลยจริง ๆ แต่เมื่อมาได้ลองทำมากเท่าไร ก็ยิ่งรู้ถึงความสำคัญของงานนี้ เพราะเป็นสิ่งที่คอยรักษาคุณภาพโครงการ และมีผลต่อภาพลักษณ์ของมูลนิธิในระดับนานาชาติ การที่เห็นภาพของพี่ ๆ ในทีมคือ พี่สาพี่ หมู หัวหน้าอย่างคุณ Alistair รวมไปถึงพี่ ๆ คนอื่นในฝ่ายคุณภาพโครงการ (PQD) ทำงานหนักกันมาก ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของโครงการและเพื่อเสริมศักยภาพต่าง ๆ ของทีม เป็นสิ่งที่น่าประทับใจและได้ทำให้ผมได้รู้ว่างานของทุกฝ่ายและของทุกคนล้วนมีความสำคัญ แต่สิ่งที่จะทำให้ผลงานภาพรวมออกมาได้ดีนั้น จะต้องมีการสื่อสารภายในที่ดีเพื่อความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน และ การประสานงานระหว่างฝ่ายที่ไม่ขาดตอนครับ เนื่องจากว่าทีม DMEL หรือทีมอื่น ๆ ใน PDQ จะไม่มีความหมายเลยถ้าขาดการทำงานในท้องที่ที่ช่วยผลักดักให้งานของมูลนิธิสำเร็จได้
ผมต้องขอขอบคุณพี่ ๆ ในทีมที่ไว้ใจให้ผมทำงานหลายอย่างมาก เหมือนผมเป็นพนักงานคนหนึ่งเลยครับ (ชงกาแฟ ถ่ายเอกสาร เดินเอกสาร ไม่เคยได้ทำเลยจริง ๆ) ครั้งหนึ่งผมได้มีโอกาสนำเสนอวิธีการกรอกแบบประเมิน CARE Resilience Marker ให้กับพี่ ๆ ในฝ่ายทั้งหมด ซึ่งเป็นโอกาสที่ทำให้ผมได้ฝึกฝนตัวเองและเข้าใจการทำงานของมูลนิธิมากยิ่งขึ้น
ต้องบอกตามตรงครับว่า เรื่อง “การติดตามและประเมินผล” เป็นสิ่งที่ผมไม่เคยทำมาก่อนและไม่เคยมีความสนใจในเรื่องเหล่านี้เลยจริง ๆ แต่เมื่อมาได้ลองทำมากเท่าไร ก็ยิ่งรู้ถึงความสำคัญของงานนี้ เพราะเป็นสิ่งที่คอยรักษาคุณภาพโครงการ และมีผลต่อภาพลักษณ์ของมูลนิธิในระดับนานาชาติ การที่เห็นภาพของพี่ ๆ ในทีมคือ พี่สาพี่ หมู หัวหน้าอย่างคุณ Alistair รวมไปถึงพี่ ๆ คนอื่นในฝ่ายคุณภาพโครงการ (PQD) ทำงานหนักกันมาก ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของโครงการและเพื่อเสริมศักยภาพต่าง ๆ ของทีม เป็นสิ่งที่น่าประทับใจและได้ทำให้ผมได้รู้ว่างานของทุกฝ่ายและของทุกคนล้วนมีความสำคัญ แต่สิ่งที่จะทำให้ผลงานภาพรวมออกมาได้ดีนั้น จะต้องมีการสื่อสารภายในที่ดีเพื่อความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน และ การประสานงานระหว่างฝ่ายที่ไม่ขาดตอนครับ เนื่องจากว่าทีม DMEL หรือทีมอื่น ๆ ใน PDQ จะไม่มีความหมายเลยถ้าขาดการทำงานในท้องที่ที่ช่วยผลักดักให้งานของมูลนิธิสำเร็จได้
ผมต้องขอขอบคุณพี่ ๆ ในทีมที่ไว้ใจให้ผมทำงานหลายอย่างมาก เหมือนผมเป็นพนักงานคนหนึ่งเลยครับ (ชงกาแฟ ถ่ายเอกสาร เดินเอกสาร ไม่เคยได้ทำเลยจริง ๆ) ครั้งหนึ่งผมได้มีโอกาสนำเสนอวิธีการกรอกแบบประเมิน CARE Resilience Marker ให้กับพี่ ๆ ในฝ่ายทั้งหมด ซึ่งเป็นโอกาสที่ทำให้ผมได้ฝึกฝนตัวเองและเข้าใจการทำงานของมูลนิธิมากยิ่งขึ้น
ประสบการณ์เปิดโลก: Harm Reduction และ เพื่อนผู้ใช้ยา
นอกจากนี้ ยังมีงานที่เพิ่มเข้ามาตามความสนใจด้วยครับ ซึ่งผมได้ศึกษางานที่เกี่ยวกับกลุ่ม PWID ครับ ในเรื่องการวิจัยการแจกเข็มและกระบอกฉีดยาให้เพื่อนผู้ใช้ยา โดยได้เข้าร่วมประชุมภาคีการทำวิจัยเรื่องดังกล่าวพร้อมกับมูลนิธิ Ozone และ TDN และการเข้าร่วมการอบรม Training เจ้าหน้าที่เพื่อพัฒนาการเข้าถึงกลุ่ม PWID ซึ่งทั้งสองกิจกรรม ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ “เปิดโลก”ผมมากที่สุด เพราะผมไม่เคยได้ยินการทำงาน “Harm Reduction” และหน่วยงานเพื่อผู้ใช้ยาเสพติดขนาดนี้มาก่อน แม้แต่คำว่า “เพื่อนผู้ใช้ยา” ผมก็ไม่เคยได้ยินมาก่อนในชีวิตเลยครับ
การได้ลองเข้ามาศึกษา ได้สัมภาษณ์พี่ ๆ เจ้าหน้าที่ภาคสนามที่ทำงานด้านนี้ เป็นสิ่งที่ทำให้ผมเปลี่ยนความคิดที่มีต่อผู้ใช้ยาไปอย่างสิ้นเชิง และทำให้ผมเข้าใจคำว่า “สิทธิของความปลอดภัยในชีวิต” มากขึ้นจริง ๆ ผมขอชื่นชมและเป็นกำลังใจให้พี่ ๆ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกคน พวกพี่คือกลุ่มคนที่มีความเข้าใจและเห็นใจในเพื่อนมนุษย์มากที่สุดเท่าที่ผมเคยเจอมา และได้ให้แรงบันดาลใจในการเรียนและการทำงานในอนาคตของผมอย่างมาก
ด้วยความที่ผมเรียนรัฐศาสตร์ แค่ชื่อก็บอกแล้วนะครับว่าส่วนใหญ่จะเรียนเกี่ยวกับรัฐ และ ความสำคัญของระเบียบในสังคมเช่นกฎหมาย ระเบียบ จารีตในสังคม แต่นี่เป็นครั้งแรกนะครับที่ผมเห็นว่า กฎหมาย เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคง กลับกลายเป็นสิ่งที่กีดกันสิทธิในชีวิตของคนกลุ่มเปราะบางหลายกลุ่ม เช่น การที่กลุ่ม PWID ถูกกีดกันการเข้าถึงโดยตำรวจ หรือถูกตีตราจากสังคม ดังนั้น ผมเชื่อว่างานที่ท้าทายกฎหมาย สถาบันและจารีตสังคมที่มูลนิธิกำลังทำอยู่ จะเป็นการวางรากฐานการเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่ “สังคมสำหรับทุกคนอย่าแท้จริง” ได้ในอนาคตครับ
การได้ลองเข้ามาศึกษา ได้สัมภาษณ์พี่ ๆ เจ้าหน้าที่ภาคสนามที่ทำงานด้านนี้ เป็นสิ่งที่ทำให้ผมเปลี่ยนความคิดที่มีต่อผู้ใช้ยาไปอย่างสิ้นเชิง และทำให้ผมเข้าใจคำว่า “สิทธิของความปลอดภัยในชีวิต” มากขึ้นจริง ๆ ผมขอชื่นชมและเป็นกำลังใจให้พี่ ๆ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกคน พวกพี่คือกลุ่มคนที่มีความเข้าใจและเห็นใจในเพื่อนมนุษย์มากที่สุดเท่าที่ผมเคยเจอมา และได้ให้แรงบันดาลใจในการเรียนและการทำงานในอนาคตของผมอย่างมาก
ด้วยความที่ผมเรียนรัฐศาสตร์ แค่ชื่อก็บอกแล้วนะครับว่าส่วนใหญ่จะเรียนเกี่ยวกับรัฐ และ ความสำคัญของระเบียบในสังคมเช่นกฎหมาย ระเบียบ จารีตในสังคม แต่นี่เป็นครั้งแรกนะครับที่ผมเห็นว่า กฎหมาย เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคง กลับกลายเป็นสิ่งที่กีดกันสิทธิในชีวิตของคนกลุ่มเปราะบางหลายกลุ่ม เช่น การที่กลุ่ม PWID ถูกกีดกันการเข้าถึงโดยตำรวจ หรือถูกตีตราจากสังคม ดังนั้น ผมเชื่อว่างานที่ท้าทายกฎหมาย สถาบันและจารีตสังคมที่มูลนิธิกำลังทำอยู่ จะเป็นการวางรากฐานการเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่ “สังคมสำหรับทุกคนอย่าแท้จริง” ได้ในอนาคตครับ
บทสรุปส่งท้าย
สุดท้ายนี้ ผมคิดว่าผมไม่ค่อยได้เห็นบทบาทของ NGO ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเท่าไรหรอกครับ (เป้าหมายของผมในเบื้องต้น) แต่ประสบการณ์ที่ผมได้จากการฝึกงานที่นี่นั้นกลับคุ้มค่ามาก เพราะผมได้เข้าใจประเทศไทยมากขึ้น ได้เห็นจุดเล็ก ๆ และ กลุ่มคนที่เปราะบาง ที่ผมมองไม่เห็นหรือไม่เข้าใจมาตลอดในเมืองไทย ซึ่งมีประโยชน์ต่อผมมากจริง ๆ ครับ เพราะถ้าอนาคตข้างหน้า "ผมจะไปทำงานเพื่อประเทศชาติในระดับระหว่างประเทศได้อย่างไร ถ้าหากผมยังไม่เข้าใจทุกแง่มุมของประเทศไทยเราอย่างถ่องแท้เสียก่อน"
ในวันที่ผมกำลังเขียนบทความนี้ก็เป็นวันสุดท้ายที่ผมทำหน้าที่นักศึกษาฝึกงาน ผมขอขอบคุณทุกความช่วยเหลือ ทุกประสบการณ์จากพี่ ๆ ทุกคน และขอขอบคุณมูลนิธิรักษ์ไทยที่ยืนหยัดเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์มาเป็นระยะเวลายาวนาน ผมขอแสดงความนับถือ และ ส่งมอบกำลังใจเล็ก ๆ นี้ให้พี่ ๆ ทุกคนในการทำงาน ไม่ว่าจะงานอะไร ในสำนักงานไหน หรือในพื้นที่ไหน ให้สร้างสรรค์งานดี ๆ ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์แบบนี้ต่อไปนะครับ สู้ ๆ ครับ
ในวันที่ผมกำลังเขียนบทความนี้ก็เป็นวันสุดท้ายที่ผมทำหน้าที่นักศึกษาฝึกงาน ผมขอขอบคุณทุกความช่วยเหลือ ทุกประสบการณ์จากพี่ ๆ ทุกคน และขอขอบคุณมูลนิธิรักษ์ไทยที่ยืนหยัดเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์มาเป็นระยะเวลายาวนาน ผมขอแสดงความนับถือ และ ส่งมอบกำลังใจเล็ก ๆ นี้ให้พี่ ๆ ทุกคนในการทำงาน ไม่ว่าจะงานอะไร ในสำนักงานไหน หรือในพื้นที่ไหน ให้สร้างสรรค์งานดี ๆ ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์แบบนี้ต่อไปนะครับ สู้ ๆ ครับ
หวังว่าจะได้ทำงานร่วมกันในอนาคตครับ
กรวีร์ ทองอินที
นักศึกษาฝึกงานทีม DMEL
ฝ่ายคุณภาพโครงการ มูลนิธิรักษ์ไทย